กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>ไอทีในชีวิตประจำวัน #454 โฆษณาในเฟสบุ๊ค</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>ไอทีในชีวิตประจำวัน #454 โฆษณาในเฟสบุ๊ค ()<br /> อ่านหนังสือเรื่องการประชาสัมพันธ์ ที่เขียนโดย รศ.วิรัช ลภิรัตนกุล สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พิมพ์ครั้งที่ 12 แล้ว ท่านชี้ให้เห็นคำสำคัญในความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่าต้องมีการวางแผน การจูงใจ การสื่อสารและกลุ่มเป้าหมาย เมื่อมองออกไปในชีวิตจริงก็พบการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมากมาย และสื่อที่ชาวไทยกล่าวถึงมากที่สุดสื่อหนึ่งก็คงหนีไม่พ้นเฟสบุ๊ค รวมถึงเหล่าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม สำหรับเรื่องของน้องฝ้าย เวฬุรีย์ หรือน้องหมาก กับน้องมิ้นต์ ต่างก็มีประเด็นในเครือข่ายสังคมในทำนองโพสต์ก่อนคิด จึงเกิดผลเสียตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้<br /> เมื่อมองเข้าไปในเครือข่ายสังคมที่ประกอบด้วยเพื่อน และข้อความที่เพื่อนโพสต์ทิ้ง ก็ทำให้เห็นถึงคำว่าการวางแผน การจูงใจ การสื่อสาร และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไป บางคนมาพร้อมโลโก้ที่เสมือนติดไว้ที่หน้าผากว่าเขาคือคนขององค์กร มาอย่างมีแผนที่จะชี้ประเด็น ประชาสัมพันธ์พร้อมกับการสื่อสารที่ผ่านการกลั่นกรอง โดยมองเราท่านเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมาย แต่ก็มีอีกมากที่มาแบบนิรนามคือดูไม่ออกว่าเป็นใคร ไม่รู้เพศ ไม่รู้ชื่อ ไม่โพสต์อะไรที่แสดงความเป็นตัวตนเลย รู้สึกว่าพวกเขาไม่มีอะไรจะบอกเกี่ยวกับตัวเอง สามารถจัดอยู่ในกลุ่มคนไร้อัตตาได้<br /> พบบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่ายสังคมพยายามประชาสัมพันธ์ว่าเฟสบุ๊คสามารถใช้เป็นแหล่งโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ทำการตลาด หรือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้ด้วยต้นทุนต่ำ แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าบริการอื่น อาทิ adsense ของกูเกิ้ล หรือป้ายโฆษณาตามเว็บไซต์ ก็คงต้องยอมรับว่าทุกสื่อมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันไป ทั้งสาร สื่อ และกลุ่มเป้าหมายก็มีลักษณะเฉพาะที่ต้องผ่านการวิเคราะห์และเลือกใช้ เหมือนตัวอย่างที่ว่าถ้าจะโฆษณาขายขนมให้กับเด็กควรเลือกทีวีการ์ตูน มากกว่าไปลงโฆษณาในวารสาร หรือเว็บไซต์ทั่วไป เพราะเด็กไทยอาจไม่นิยมอ่านหนังสือ และอายุน้อยก็อ่านได้ไม่แตกฉาน ทำให้การเลือกสื่อสำหรับโฆษณาต้องพิจารณาให้มาก โดยเฉพาะเฟสบุ๊คที่ไม่ได้เหมาะสำหรับเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ ผู้รับผิดชอบงานด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์จึงต้องหาข้อมูลให้รอบด้านมาประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจ เพราะผู้รับสารคือเป้าหมายที่แท้จริง <br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='118.172.110.10'>.</a><br> 11:04am (14/06/14)</font></td></tr></table></center>